วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

การใช้ภาษาในการสื่อสาร


การใช้ภาษาในการสื่อสาร

ถ้อยคำ


 
     ความหมายของถ้อยคำ 
ถ้อยคำ  หมายถึง  คำกล่าว  เสียงพูดและลายลักษณ์อักษร  ที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันทั้ง ในด้านกิจธุระและ ในด้านกิจการอื่น ๆ มีรูปลักษณ์ต่างกันไป ผู้ที่มีความรู้เรื่องถ้อยคำ  รู้จักถ้อยคำและเข้าใจ ความหมายของถ้อยคำได้ดี  ก็จะสามารถเลือกใช้ถ้อยคำมาใช้ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 



การใช้ถ้อย


การใช้ถ้อยคำ ให้มีประสิทธิผลมีข้อควรคำนึง ดังนี้้

1.
การออกเสียงให้ถูกต้อง
          หากออกเสียงไม่ถูกต้องอาจจะทำให้ความหมายผิดไปได้ เช่น  เขาไม่ชอบปา (ปลา)   ห้ามยืนทางฝา (ขวา)  ที่นี่มีคูมากมาย (ครู)  เป็นต้น
2.
การเขียนให้ถูกต้อง
 
          หากเขียนสะกดผิดอาจจะทำให้ความหมายผิดไปได้  เช่น  เมืองอู่ทองไม่เคยเป็นเมืองหน้าด้าน (หน้าด่าน)  เธอช่วยขลิบปลอกหมอนสีฟ้าให้ฉันหน่อย (ขริบ) นกเป็ดน้ำใกล้จะ สูญพรรณแล้ว (พันธุ์)  เป็นต้น

3.
ใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย
          ถ้าใช้คำผิดความหมายก็จะผิดไป  และคำบางคำอาจมีความหมายโดยตรง  ความหมายโดยนัย   มีหลายความหมาย  มีความหมายใกล้เคียงกัน  ควรคำนึงถึงบริบทและพิจารณาก่อนใช้     เช่น
ขบวนการนี้เป็นภัยแห่งนักศึกษาทั้งหมด (ควรใช้ ต่อ)

บนถนนราชดำเนินมีรถอยู่แออัด (ควรใช้ คับคั่ง) 
        
ฉันกลัวเสือมาก/เขาทำตัวเป็นเสือ (ความหมายโดยตรง/โดยนัย)

ฉันถูกต่อต่อย/เขาต่อเวลาให้เรา/เธอขอต่อราคาลงอีก/พี่ต่อให้เขาวิ่งไปก่อนห้านาที
(คำหลายความหมาย)

เขาอนุมัติให้เธอกลับบ้านได้ (ควรใช้ อนุญาต)






4.
ใช้คำให้ถูกต้องตามหลักภาษา และหน้าที่ของคำ  
         เช่น  การใช้คำอาการนาม  การใช้ลักษณะนาม  การใช้คำบุพบท  การใช้คำสันธาน  เป็นต้น
5.
ใช้คำให้เหมาะสมบุคคล
          เช่น  เขามีหมายกำหนดการการอบรมแล้วหรือยัง (ควรใช้ กำหนดการ)   เมื่อชาติชาย ได้ยินก็โกรธ กระฟัดกระเฟียดออกไป (ควรใช้ ปึงปัง)  แม่เชิญพระสงฆ์ จำนวน  9  รูปมาที่บ้าน (ควรใช้ นิมนต์) เป็นต้น

6.
ใช้คำให้เหมาะสมกับโอกาส 
          เช่น  โอกาสที่เป็นทางการ  ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำต่างประเทศ  คำหยาบ  คำสแลง   ภาษาพูด  ภาษาหนังสือพิมพ์ คำย่อ  คำต่างระดับ  และภาษาถิ่น และโอกาสที่ไม่เป็นทางการ  ใช้คำระดับ ภาษาปาก และคำระดับภาษากึ่งแบบแผนได้
7.
ใช้คำที่ชัดเจนไม่กำกวม
          ใช้คำที่ผู้รับสารรู้ความหมาย ไม่ใช้คำที่ที่มีความหมายกว้าง และคำที่มีความหมายไม่แน่นอน  เพราะอาจทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสารได้  เช่น  ฉันไม่เคยไปที่บ้านหลังนั้น  (ไม่รู้ว่าหลังไหน)  น้องซื้อหนังสือ เล่มนี้เพราะดีกว่าเล่มอื่น ๆ ในร้าน (ไม่รู้ว่าดีอย่างไร)  ลุงปลูกต้นไม้ 2 ต้น (ไม่รู้ว่าต้นอะไร)  บ้านเขาอยู่ใกล้มาก (อีกคนอาจคิดว่าไกล) นิดตกลงมาหรือไม่ (ตกลงใจหรือตกลงมาจากบันได)  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น