วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556


พัฒนาการของการสื่อสาร

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลก นับตั้งแต่มนุษย์ได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสังคมขนาดใหญ่นั้น อาจแบ่งออกเป็น 3ยุค ที่สำคัญตามลำดับ คือ เริ่มแรกเป็นยุคของเกษตรกรรม ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นยุคอุตสาหกรรม และถึงปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นยุคของการสื่อสาร
เหตุที่ยุคปัจจุบันได้รับการเรียกขานว่าเป็นยุคของการสื่อสาร เพราะเป็นยุคที่เทคโนโลยีด้านการสื่อสารข้อมูลต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก และอัตราความเจริญเป็นไปอย่างรวดเร็ว หลายอย่างแทบไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถคิดค้นขึ้นมาได้ในศตวรรษนี้ ความเจริญก้าวหน้าของการสื่อสารดังกล่าว ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้นั้น ย่อมจะมีพัฒนาการมายาวนาน พร้อมกับการเกิดขึ้นของสังคมมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ


การสื่อสารกับการศึกษา


การสื่อสารกับการศึกษา
การเรียนการสอน เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง มีทั้งผู้ส่งสาร อันได้แก่ครูผู้สอน มีสาร คือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้น ผู้รับสารคือ ผู้เรียน มีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือ สื่อการเรียนการสอนต่างๆ ภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียน หรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นในสถานที่อื่น และมีจุดหมายของหลักสูตรเป็นเครื่องนำทาง

จุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน คือการพยายามสร้างความเข้าใจ ทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ความสำเร็จของการเรียนการสอน พิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้น ตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆ ปัญหาสำคัญของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้อง ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการสื่อสาร และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครู คือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ อย่างเหมาะสม นอกเหนือการใช้คำพูดของครูแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะสื่อหรือโสตทัศนูปกรณ์ มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ไม่มีในตัวบุคคล คือ
1.   จับยึดประสบการณ์ เหตุการณ์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น สามารถใช้สื่อต่างๆ บันทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง เช่น การบันทึกภาพ บันทึกเสียง การพิมพ์ ฯลฯ
2.   ดัดแปลงปรุงแต่ง เพื่อทำสิ่งที่เข้าใจยาก ให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การย่อส่วน ขยายส่วน ทำให้ช้าลง ทำให้เร็วขึ้น จากไกลทำให้ดูใกล้ จากสิ่งที่มีความซับซ้อนสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น
3.   ขยายจ่ายแจก ทำสำเนา หรือเผยแพร่ได้จำนวนมาก เช่น รายการวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย จึงช่วยให้ความรู้ต่างๆ เข้าถึงผู้รับได้เป็นจำนวนมากพร้อมกัน

คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร

คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร

          1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
          2. มีทักษะในการสื่อสาร
          3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
          4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
          5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
          6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
          7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
          8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
          9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
         10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
         11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
         12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี


วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

การใช้ภาษาในการสื่อสาร


การใช้ภาษาในการสื่อสาร

ถ้อยคำ


 
     ความหมายของถ้อยคำ 
ถ้อยคำ  หมายถึง  คำกล่าว  เสียงพูดและลายลักษณ์อักษร  ที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันทั้ง ในด้านกิจธุระและ ในด้านกิจการอื่น ๆ มีรูปลักษณ์ต่างกันไป ผู้ที่มีความรู้เรื่องถ้อยคำ  รู้จักถ้อยคำและเข้าใจ ความหมายของถ้อยคำได้ดี  ก็จะสามารถเลือกใช้ถ้อยคำมาใช้ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 



การใช้ถ้อย


การใช้ถ้อยคำ ให้มีประสิทธิผลมีข้อควรคำนึง ดังนี้้

1.
การออกเสียงให้ถูกต้อง
          หากออกเสียงไม่ถูกต้องอาจจะทำให้ความหมายผิดไปได้ เช่น  เขาไม่ชอบปา (ปลา)   ห้ามยืนทางฝา (ขวา)  ที่นี่มีคูมากมาย (ครู)  เป็นต้น
2.
การเขียนให้ถูกต้อง
 
          หากเขียนสะกดผิดอาจจะทำให้ความหมายผิดไปได้  เช่น  เมืองอู่ทองไม่เคยเป็นเมืองหน้าด้าน (หน้าด่าน)  เธอช่วยขลิบปลอกหมอนสีฟ้าให้ฉันหน่อย (ขริบ) นกเป็ดน้ำใกล้จะ สูญพรรณแล้ว (พันธุ์)  เป็นต้น

3.
ใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย
          ถ้าใช้คำผิดความหมายก็จะผิดไป  และคำบางคำอาจมีความหมายโดยตรง  ความหมายโดยนัย   มีหลายความหมาย  มีความหมายใกล้เคียงกัน  ควรคำนึงถึงบริบทและพิจารณาก่อนใช้     เช่น
ขบวนการนี้เป็นภัยแห่งนักศึกษาทั้งหมด (ควรใช้ ต่อ)

บนถนนราชดำเนินมีรถอยู่แออัด (ควรใช้ คับคั่ง) 
        
ฉันกลัวเสือมาก/เขาทำตัวเป็นเสือ (ความหมายโดยตรง/โดยนัย)

ฉันถูกต่อต่อย/เขาต่อเวลาให้เรา/เธอขอต่อราคาลงอีก/พี่ต่อให้เขาวิ่งไปก่อนห้านาที
(คำหลายความหมาย)

เขาอนุมัติให้เธอกลับบ้านได้ (ควรใช้ อนุญาต)






4.
ใช้คำให้ถูกต้องตามหลักภาษา และหน้าที่ของคำ  
         เช่น  การใช้คำอาการนาม  การใช้ลักษณะนาม  การใช้คำบุพบท  การใช้คำสันธาน  เป็นต้น
5.
ใช้คำให้เหมาะสมบุคคล
          เช่น  เขามีหมายกำหนดการการอบรมแล้วหรือยัง (ควรใช้ กำหนดการ)   เมื่อชาติชาย ได้ยินก็โกรธ กระฟัดกระเฟียดออกไป (ควรใช้ ปึงปัง)  แม่เชิญพระสงฆ์ จำนวน  9  รูปมาที่บ้าน (ควรใช้ นิมนต์) เป็นต้น

6.
ใช้คำให้เหมาะสมกับโอกาส 
          เช่น  โอกาสที่เป็นทางการ  ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำต่างประเทศ  คำหยาบ  คำสแลง   ภาษาพูด  ภาษาหนังสือพิมพ์ คำย่อ  คำต่างระดับ  และภาษาถิ่น และโอกาสที่ไม่เป็นทางการ  ใช้คำระดับ ภาษาปาก และคำระดับภาษากึ่งแบบแผนได้
7.
ใช้คำที่ชัดเจนไม่กำกวม
          ใช้คำที่ผู้รับสารรู้ความหมาย ไม่ใช้คำที่ที่มีความหมายกว้าง และคำที่มีความหมายไม่แน่นอน  เพราะอาจทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสารได้  เช่น  ฉันไม่เคยไปที่บ้านหลังนั้น  (ไม่รู้ว่าหลังไหน)  น้องซื้อหนังสือ เล่มนี้เพราะดีกว่าเล่มอื่น ๆ ในร้าน (ไม่รู้ว่าดีอย่างไร)  ลุงปลูกต้นไม้ 2 ต้น (ไม่รู้ว่าต้นอะไร)  บ้านเขาอยู่ใกล้มาก (อีกคนอาจคิดว่าไกล) นิดตกลงมาหรือไม่ (ตกลงใจหรือตกลงมาจากบันได)  เป็นต้น

อุปสรรคในการสื่อสาร

              
อุปสรรคในการสื่อสาร
 

             อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร   อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

                 
1.  อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
                 
                 1.1  ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ 
                 1.2  ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม 
                 1.3  ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม 
                 1.4  ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร 
                 1.5  ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร 
                 1.6  ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร 


2.  อุปสรรคที่เกิดจากสาร

                 2.1  สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป 
                 2.2  สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
                 2.3  สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
                 2.4  สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน 


3.  อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง



                 3.1  การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ 
                 3.2  การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี 
                 3.3  การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร

                 
4.  อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
 
          
                 4.1  ขาดความรู้ในสารที่จะรับ 
                 4.2  ขาดความพร้อมที่จะรับสาร 
                 4.3  ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร 
                 4.4  ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร 
                 4.5  ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป 
                
                 

คุณสมบัติของผู้ส่งสาร

คุณสมบัติของผู้ส่งสาร

1.  เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ 

2.  เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี           

3.  เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ  ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร

4.  เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร 

5.  เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร  

ความสำคัญของการสื่อสาร



      
  

บริบททางการสื่อสาร
ความสำคัญของการสื่อสาร 

การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้ 

1.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ  ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร   ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน  การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา   พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร 

2.  การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม    ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม   ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี  สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง  วิถีชีวิตของผู้คน  ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 

3.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ